มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการทำงานเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งการตัดสินใจจะเลือก “มอเตอร์ของประตูโมท” มีหลายปัจจัยที่ต้องให้พิจารณา โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือ การใช้งานอย่างต่อเนื่อง ความทนทาน การรับประกัน และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนั่นเอง ซึ่งเจ้าตัวมอเตอร์นั้นมีสองแบบให้ได้ตัดสินใจด้วยกันก็คือ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC
ความแตกต่างของมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC
- แหล่งพลังงาน
ความแตกต่างของมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC ที่ชัดเจนมากที่สุดคือ แหล่งพลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้านั่นเอง มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC จะมีแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจาก ไฟฟ้ากระแสสลับ และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะมีแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจาก ไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งส่งผลให้ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC มีความซับซ้อนภายในมากกว่า มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC เนื่องจากต้องคอยอาศัยอุปกรณ์ต่างในการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จึงทำให้มีอุปกรณ์ภายในมากกว่า มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC
- โครงสร้าง
มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC นั้นจะมีโครงสร้างของอุปกรณ์โดยอาศัยหลักการทำงานของ Brushers หรือ แปรงถ่าน เพื่อการนำกระแสเข้าสู่ตัวแกนของมอเตอร์ เมื่อมีอายุการใช้งานที่มากขึ้นจะทำให้เกิดการสึกหรอได้ แต่ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งทำให้ตัวมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC นั้นจำเป็นต้องดูแลรักษามากกว่า และยังต้องคอยเปลี่ยนแปรงถ่านทุก 2-3 ปี อีกทั้งยังมีความซับซ้อนของวงจรหลักมากกว่า มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC อีกด้วย แน่นอนว่าเป็นการส่งผลต่อการซ่อมในระยะยาว
- ความเร็ว
ระบบการควบคุมความเร็วของมอเตอร์จะมีความแตกต่างกัน เนื่องจาก มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ควบคุมความเร็วโดยระบบ Frequency (ระบบความถี่) แต่มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะควบคุมโดยใช้ระบบ Pulse (ระบบสัญญาณ) จึงทำให้การควบคุมสามารถควบคุมได้ง่ายกว่า ทั้งการเพิ่มความเร็ว และการชะลอความเร็วนั้นทำได้ดีกว่า เนื่องจากการตอบสนองของระบบ Pulse นั้นไวกว่า ระบบ Frequency ความนุ่มนวลของ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จึงมีมากกว่า
- ความเหมาะสม
เนื่องจากประตูแต่ละแบบนั้นมีขนาดและน้ำหนักไม่เท่ากัน ความเหมาะสมของขนาดและน้ำหนักของประตู จึงเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น มอเตอร์ที่เหมาะกับ ประตูที่มีความกว้างไม่เกิน 8 เมตรหรือน้ำหนักไม่เกิน 2,000 kg. ควรเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC เพราะให้แรงบิดน้อยกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะเหมาะกับน้ำหนักประตูที่เบา-กลางเท่านั้น แต่ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC จะใช้ได้กับประตูทุกๆขนาด
- ความถี่ในการใช้งาน
ลักษณะการใช้งานสำหรับการเปิด-ปิดที่บ่อยครั้ง เช่นทางเข้าหลักหรือทางเข้าของโครงการหมู่บ้าน ที่ต้องมีการเปิด-ปิดบ่อยครั้ง จึงทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ทำได้ดีกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC เพราะไม่เกิดความร้อนสะสมในขณะทำงาน ทำให้ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง การใช้งานตัวมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC อย่างต่อเนื่องนั้นทำให้เกิดความร้อนสะสมที่ขดลวดในมอเตอร์ เมื่อมีอุณหภูมิที่ร้อนมากจนถึงขีดจำกัดของจุดตัด มอเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้ต้องรอให้อุณหภูมินั้นต่ำลงจึงจะสามารถใช้งานต่อได้
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะมีการติดตั้งแบตเตอรี่สำรองไว้ภายในสินค้า ซึ่งทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก 1-2 ปีและถ้าหากมีน้ำหนักประตูที่มาก ก็จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น และปัญหาที่พบบ่อยคือ แบตเสื่อม และทำให้ไม่สามารถเปิดประตูได้
มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC มีความต่างกันไม่ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ความเร็ว ความนิ่มนวลของการทำงาน โครงสร้างของมอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC นั้นจะมีความซับซ้อนกว่ามากทั้งในด้าน Hardware และ Software ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจ ที่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในด้านการใช้งานว่าความต้องและความต้องการของการใช้งานเป็นอย่างไร